เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย

Green Procurement

 การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green procurement)

คือการส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ไม่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านกลไกการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่กำหนด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและบริการ โดยพิจารณาตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยมีฉลากสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือแยกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด และให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องของผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภค สำหรับประเทศไทยใช้คำว่า "ฉลากเขียว" แทน "ฉลากสิ่งแวดล้อม"
นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐ
ภาครัฐถือว่าเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของประเทศ การผลักดันให้เกิด "นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐ" จึงเป็นมาตรการเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อให้เกิดตลาดผลิตภัณฑ์สีเขียว ด้วยการกระตุ้นให้ผู้ผลิตหันมาใส่ใจผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แข่งขันกันปรับปรุงคุณภาพสินค้า หรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
ประเภทผลิตภัณฑ์ในการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงแรก มีดังนี้
1. กลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษ
2. อุปกรณ์เครื่องเขียน
3. ตลับหมึก
4. เครื่องถ่ายเอกสาร
5. ผลิตภัณฑ์สี
6. หลอดฟลูออเรสเซนซ์
7. เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในสำนักงานและตู้เก็บเอกสารที่ทำจากเหล็ก
8. บริการโรงแรม

  จรรยาบรรณผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ

1. วางตัวเป็นกลาง
2. ปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกและความโปร่งใส ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบได้ตลอดเวลา
3. มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง
4. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัด
5. ใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด
6. คำนึงถึงประโยชน์ ความถูกต้อง ยุติธรรม และความสมเหตุสมผล
7. ปฏิบัติงานร่วมกันกับผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงานด้วยความเอาใจใส่ ร่วมมือช่วยเหลือ ให้ความคิดเห็น แก้ปัญหาร่วมกัน และการพัฒนางาน
8. ไม่เรียก รับ ยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใด ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
9. ปฏิบัติต่อผู้ขาย ผู้รับจ้าง หรือผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้มาร้องเรียน ร้องทุกข์ ด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
10. ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการเสริมสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน จนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นวิชาชีพเฉพาะสาขาหนึ่ง
11. ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมสนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ รับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานอย่างมีเหตุผล ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงควบคุม ตรวจสอบ ดูแล กำชับให้ผู้ปฏิบัติงานประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณนี้อย่างเคร่งครัด